วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

พระไตรปิฏก

พุทธศาสนสุภาษิต


กมฺมุนา วตฺตตี โลโก
สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม


          คำว่า กรรม ได้แก่ การกระทำ หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา คือ ทำด้วยความจงใจหรือจงใจทำดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เช่นขุดหลุมพรางดักคนหรือสัตว์ให้ตกลงไปตาย เป็นกรรม แต่ขุดบ่อน้ำไว้กินใช้ สัตว์ตกลงไปตายเอง ไม่เป็นกรรม (แต่ถ้ารู้อยู่ว่า บ่อน้ำที่ตนขุด ๆไว้อยู่ในที่ซึ่งคนจะพลัดตกได้ง่าย แล้วปล่อยปละละเลย มีคนตกลงไปตายก็ไม่พ้นเป็นกรรม) การกระทำที่ดีเรียกว่า “กรรมดี” ที่ชั่ว เรียกว่า “กรรมชั่ว”ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จอุบัติขึ้นในโลก มนุษย์มีความเชื่อถือกันว่า วีถีชีวิตของคนเราจะเป็นไปอย่างไรนั้น เทพเจ้าเท่านั้นจะเป็นผู้บันดาล แต่ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น พระองค์ทรงค้นพบว่า ชีวิตของคนจะเป็นอย่างไรนั้น คือ ดี เลว ประณีต ยากจน ร่ำรวย หรืออับเฉาทั้งหมดขึ้นอยู่กับผลของกรรมที่ตนเองทำไว้ คนอื่นจะทำความดี ความชั่ว และรับผลของกรรมดีกรรมชั่วแทนกันไม่ได้ทางพระพุทธศาสนาถือกันว่ากรรมเป็นผู้ตกแต่งว่าจะให้ใครเป็นอย่างไร คือจะให้ดีหรือเลว มิใช่พระเจ้าหรือเทพเจ้าเป็นผู้แต่ง ที่ว่าสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมนั้น หมายความว่า คนเราจะเป็นอย่างไร แรงกรรมเท่านั้นเป็นผู้พาไป มิใช่มีใครคอยดลบันดาลให้ ฉะนั้น พุทธศาสนิกชนควรประกอบกรรมดี คือกุศลกรรม หลีกเลี่ยงกรรมไม่ดี คือ อกุศลกรรมการประพฤติปฏิบัติดีย่อมส่งผลให้ผู้ประพฤติปฎิบัติได้รับผลแห่งกรรมดีนั้น ดังพุทธภาษิตว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม



         หนังสือคติธรรมจากพุทะศาสนสุภาษิต เล่ม 1 ได้อธิบายพุทธศาสนสุภาษิตบทนี้ไว้ว่า พุทธศาสนาเป็นกรรมนิยามเชื่อกรรมและผลแห่งกรรมว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หว่านถั่วได้ถั่ว หว่านงาได้งา หว่านถั่วจะเกิดเป็นงาหรือหว่านงาจะเกิดเป็นถั่วไปไม่ได้แต่เนื่องจากคำว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วมีคนเข้าใจผิดอยู่เป็นจำนวนมาก คือ เข้าใจกันแต่การทำดี แต่ไม่เข้าใจคำว่าได้ดี คำว่าได้ดีนี้ หมายเอาทั้งของดีและคุณงามความดี เช่นคนรับจ้างแบกของแล้วได้เงินค่าจ้าง เรียกว่าได้ของดี คนที่ทำงานโดยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่คด ไม่โกง ย่อมได้รับคุณงามความดี คือ มีคนยกย่องสรรเสริญ เรียกว่าได้คุณความดีคนที่ให้ทาน รักษาศีล ผลทาน อานิสงส์ของศีล ย่อมส่งผลให้เขาไปสุคติได้ ส่วนคนทำชั่วจะไม่เป็นเช่นนั้น เช่น คนที่เลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพ มีการลักขโมย เป็นต้น ย่อมจะมีอายุสั้น และจะถูกผู้อื่นเบียดเบียนข่มเหง ฉะนั้นพระพุทธองค์ จึงทรงเตือนว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ
 ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว


สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย
 การสั่งสมบุญนำสุขมาให้



            
คำว่า บุญ หมายถึง เครื่องชำระสันดาน ความดี กุศล ความสุข ความประพฤติชอบทางกาย วาจาและใจ หรือ กุศลธรรม ส่วนคำว่า บุญกิริยาวัตถุ หมายถึง สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ ได้แก่ ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีลและภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนาการสั่งสมบุญ จึงหมายถึง การทำคุณงามความดีอันเป็นเครื่องชำระสันดาน การบำเพ็ญกุศล การประพฤติชอบทางกาย วาจาและใจ รวมตลอดถึงการให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา การกระทำคุณงามความดีเหล่านี้แม้ทีละเล็กทีละน้อย ย่อมนำความสุขความเจริญมาให้แก่ผู้ประพฤติปฏิบัติ ประดุจน้ำฝนซึ่งตกลงมาทีละหยาด ๆ ตกนาน ๆ เข้าย่อมยังภาชนะ คือ ตุ่ม ไห หรือถาด เป็นต้น ที่หงายตั้งเอาไว้กลางแจ้งให้เต็มได้ บุญกุศลคือความดีที่บุคคลสั่งสมไว้ก็เช่นเดียวกัน แม้ทำไว้ทีละน้อย ๆ บุญกุศลก็เพิ่มพูนขึ้นโดยลำดับ และก่อให้เกิดความสุขใจว่า “บุญนี้อันเราทำไว้แล้ว และบุญนั้นเราก็ได้ทำไว้” ดังนี้บุคคลผู้หมั่นสร้างสมคุณงามความดี แม้ทีละเล็กทีละน้อย ย่อมมีความรู้สึกอิ่มเอิบใจ มีผิวพรรณผ่องใส จิตใจสดชื่น สะอาด ปราศจากสิ่งรบกวนจิตใจ ไม่หงุดหงิดง่าย มีความทรงจำที่ดี จิตใจเป็นสมาธิเร็ว จะเรียน เขียน อ่าน หรือคิดการณ์ใด ๆ ย่อมสำเร็จตามที่มุ่งหมาย มีสติสัมปชัญญะกำกับอยู่กับตัวอยู่ตลอดเวลา


             บูชา หมายถึง การให้ความนับถือ หรือการแสดงความเคารพเทิดทูน มี 2 ลักษณะ คือ อามิสบูชา ด้วยอามิส คือสิ่งของและปฏิบัติบูชา การบูชาด้วยกาปฏิบัติตามจากหนังสือคติธรรมจากพุทธศาสนสุภาษิต เล่ม 1 ได้กล่าวถึงการบูชาย่อมได้รับบูชาไว้ว่าสิ่งซึ่งจะผูกมัดน้ำใจของคนที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกันให้สนิทแนบแน่น ก็คือ ต่างฝ่ายต่างบูชานับถือกันตามฐานะธรรมดาบุตรธิดา ต้องบูชาบิดามารดาของตนในฐานะผู้ให้กำเนิดและอุปการะเลี้ยงดูตนมาบิดามารดาจึงจะปลาบปลื้มมองเห็นความเป็นบุตรธิดาที่เหมาะสมกับการที่จะเป็นผู้รับทรัพย์มรดกและมอบให้ซึ่งความไว้วางใจในฐานะทายาท ธรรมดาศิษย์ต้องเคารพเชื่อฟังอาจารย์ บูชาพระคุณของอาจารย์ไม่ลบลู่ดูหมิ่นอาจารย์ จึงจะได้รับเมตตาสั่งสอนวิชาการต่าง ๆ ให้อย่างไม่ปิดบัง แม้มิตรบูชามิตร ด้วยวัตถุสิ่งของ เขาก็จะได้รับการบูชาตอบด้วยวัตถุสิ่งของเช่นเดียวกัน ฉะนั้น คนที่บูชากันด้วยน้ำใสใจจริง ย่อมได้รับผลการตอบแทนเกินคาดเสมอส่วนการไหว้เป็นการลงทุนน้อย และไม่ต้องใช้อามิส แต่มีผลมาก เวลาได้พบหน้ากัน สิ่งซึ่งแสดงถึงน้ำใจไมตรีหรือความมีสัมมาคารวะต่อกันก็คือ การไหว้ และการไหว้นี้ถือได้ว่าเป็นวัฒนธรรมอันดีของคนในชาติ ผู้ที่ไหว้ถูกต้องตามลักษณะของการไหว้ เช่น ไหว้แบบเบญจางคประดิษฐ์ ย่อมได้รับความนิยมยกย่องว่าเป็นคนมีมรรยาท ไปในสังคมไหนย่อมได้รับการต้อนรับไม่เคอะเขิน มีแต่คนสรรเสริญเยินยอให้พรให้เจริญรุ่งเรือง
 
ปูชโก ลภเต ปูชํ วนฺทโก ปฎิวนฺทนํ
ผู้บูชาเขาย่อมได้รับการบูชาตอบ ผู้ไหว้เขา ย่อมได้รับการไหว้ตอบ

มงคล ๓๘

  ประพฤติธรรม

              การประพฤติธรรม หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนถูกต้องตามธรรม ฝึกฝนอบรมตนให้มีคุณธรรม คือ การประพฤติกุศลกรรมบถ 10 ประการ ได้แก่

1.1 กายสุจริต คือ มีความสุจริตทางกาย ทำสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยกาย 3 ประการ คือ
1) ปาณาติปาตา เวรมณี หมายถึง ละเว้นการฆ่า การสังหาร การบีบคั้นเบียดเบียน มีเมตตากรุณา ช่วยเหลือเกื้อกูลสงเคราะห์กัน
2) อทินาทานา เวรมณ หมายถึง ละเว้นการแย่งชิงลักขโมยและการเอารัดเอาเปรียบ; เคารพในทรัพย์สินของกันและกัน
3) กามาสุ มิจจฉาจารา เวรมณ หมายถึง ละเว้นการประพฤติผิดล่วงละเมิดในของรักของหวงแหนของผู้อื่น; ไม่ข่มเหงจิตใจหรือทำลายลบหลู่เกียรติและวงศ์ตระกูล

1.2 วจีสุจริต คือ มีความสุจริตทางวาจา พูดสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยวาจา มี 4 ประการคือ
4) มุสาวาทา เวรมณหมายถึง ละเว้นการพูดเท็จ โกหกหลอกลวง กล่าวแต่คำสัตย์ ไม่จงใจพูดให้ผิดจากความจริง เพราะเห็นแก่
ผลประโยชน์ใด ๆ
5) ปิสุณาย วาจาย เวรมณี หมายถึง ละเว้นการพูดส่อเสียด ยุยง สร้างความแตกแยก; พูดแต่คำที่สมานและส่งเสริมสามัคคี
6) ผรุสาย วาจาย เวรมณี หมายถึง ละเว้นการพูดคำหยาบคาย สกปรกเสียหาย , พูดแต่คำสุภาพ นุ่มนวล ชวนฟัง
7) สัมผัปปลาปา เวรมณี หมายถึง ละเว้นการพูดเหลวไหลเพ้อเจ้อ พูดแต่คำจริง มีเหตุผล มาระประโยชน์ ถูกกาลเทศะ

1.3 มโนสุจริต คือ มีความสุจริตทางใจ คิดสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยใจ มี 3 ประการ คือ
8) อนาภิชญา หมายถึง ไม่ละโมบ ไม่เพ่งเล็งคิดหาทางเอาแต่จะได้ คิดให้ คิดเสียสละ ทำใจให้เผื่อแผ่กว้างขวาง
9) อพยาบาท หมายถึง ไม่คิดร้ายมุ่งเบียดเบียน หรือจ้องที่จะทำลาย ตั้งความปรารถนาดี แผ่ไมตรี มุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่กัน
10) สัมมาทิฎฐหมายถึง มีความเห็นถูกต้อง เป็นสัมมาทิฎฐิ เข้าใจในหลักกรรมว่า ทำดีมีผลดี ทำชั่วมีผลชั่ว รู้เท่าทันความจริงที่เป็นธรรมดาของโลกและชีวิต มองเห็นความเป็นไปตามเหตุปัจจัย

            การประพฤติธรรมตามหลักกุศลกรรมบถ 10
เป็นสิ่งที่เป็นความดี ก่อให้เกิดประโยชน์คือ ทำให้เกิดความเรียบร้อยทางกาย วาจา ทำให้จิตใจผ่องใส สงบและมีความสว่าง ทำให้เกิดความสุข ความเจริญ นอกจากก่อให้เกิดประโยชน์ดังที่กล่าวมาแล้ว สุชิราภรณ์ บริสุทธิ์ ได้กล่าวถึงประโยชน์ของผู้ประพฤติธรรมไว้ 10 ประการคือ

1. เป็นมหากุศล
2. เป็นผู้ไม่ประมาท
3. เป็นผู้รักษาสัจธรรม
4. เป็นผู้นำศาสนาให้เจริญ
5. เป็นสุขในโลกนี้และโลกหน้า
6. ไม่ก่อเวรก่ออภัยแก่ใคร
7. เป็นผู้ให้อภัยและสรรพสัตว์
8. เป็นผู้ดำเนินตามปฎิปทาของนักปราชญ์
9. สร้างความเจริญความสงบสุขแก่ตนเอง และส่วนรวม
10. เป็นผู้สร้างทางมนุษย์ สวรรค์ พรหม นิพพาน
      
            เว้นจากความชั่ว หมายถึง การละเว้นจากากทำบาป การงดเว้นจากความชั่วร้าย หรือการงดเว้นเหตุแห่งความทุกข์ทั้งปวงหรือเรื่องที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน ความชั่วในที่นี้หมายถึง กรรมกิเลส คือกรรมที่ทำให้เศร้าหมอง มี 4 อย่าง คือ

1. ปาณาติบาต การฆ่าสัตว์
2. อทินนาทาน การลักทรัพย์
3. กาเมสุมิจฉาจาร การประพฤติผิดในกาม
4. มุสาวาท การพูดเท็จ

             การเว้นจากความชั่ว มี 3 วิธีคือ
1. สัมปัตตวิรัต หมายถึง งดเว้นในเมื่อประจวบเข้ากับเหตุนั้นๆ คือ ไม่ได้คิดที่จะงดเว้นมาก่อน แต่เมื่อเหตุนั้น ๆ มาถึงตัวเข้า จะล่วงละเมิดก็ได้ แต่ไม่ล่วงเกิน เช่น เห็นสัตว์ซึ่งถ้าจะฆ่าก็ฆ่าได้แต่ไม่ฆ่า เห็นทรัพย์ ซึ่งถ้าจะขโมยก็ได้แต่ไม่ทำ เห็นหญิงสาวซึ่งถ้าจะล่วงเกินก็ได้แต่ไม่ทำ มีโอกาสจะพูดเท็จก็ได้ แต่ไม่พูด เพราะนึกถึงชาติ ตระกูลและฐานะของตน เกิดหิริโอตตัปปะ คือความละอายและความเกรงกลัวเกิดขึ้นในใจ จึงงดเว้นทำความชั่วนั้น ๆ ได้

2. สมาทานวิรัติ หมายถึง งดเว้นเพราะสมาทาน คือ ได้ปฏิญาณไว้ว่าจะไม่ทำอย่างนั้น ๆ เช่น รับศีลแล้วก็รักษาได้อย่างเคร่งครัด

3. สมุจเฉทวิรัต หมายถึง งดเว้นบาปได้เด็ดขาด คือ ไม่ทำความชั่วตลอดชีวิต เป็นการงดเว้นของพระอริยบุคคล
การงดเว้นจากความชั่ว คือการงดเว้นเหตุแห่งความทุกข์ไม่ทำเรื่องที่จะให้ถึงความเดือดร้อนจึงไม่มีทุกข์ ไม่มีความเดือดร้อน มีแต่ ความสุข สงบ ร่มเย็น ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งตนเองและผู้อื่น จึงเป็นมงคลอันสูงสุด

 การดื่มน้ำเมา เป็นอบายมุขอย่างหนึ่ง คำว่า อบายมุข แปลว่า เหตุหรือทางแห่งความเสื่อม หมายถึง ทางที่ผู้ใดก็ตามเมื่อเข้าไปลองเสพแล้ว ถ้าไม่ยอมละเลิกเสียจะต้องถึงความพินาศย่อยยับหรือเสื่อมโทรมไปในที่สุดการดื่มสุรา(รวมยาเสพติดทุกชนิด)เป็นทางแห่งความเสื่อมโทรมเป็นที่ตั้งของความประมาท เป็นเหตุให้เกิดโทษ 6 อย่าง ได้แก่ ทรัพย์ สมบัติเสื่อมสูญไป ก่อการทะเลาะวิวาท เป็นสาเหตุให้เกิดโรคภัยต่าง ๆ เป็นเหตุให้เสียชื่อเสียง เป็นเหตุให้ไม่เกิดความอาย(ไร้ยางอาย) เป็นเหตุให้บั่นทอนกำลังสติปัญญา ดังคำบาลีกล่าวว่า
        สุราเมรยมชฺชปฺปมาทฎฐานานุโยโค โข คหปติปฺตฺต โภคานํ อปายมุขนฺติ

ความว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร การตามประกอบการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลาย

        คำว่า “มัชชะ” นั้นหมายถึง สิ่งที่เสพเข้าไปในร่างกายแล้ว เกิดปฏิกิริยาสนองตอบทำให้สติขาดความยั้งคิด เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ซึ่งเรียกทั่วไปว่า สิ่งเสพติดให้โทษ เช่น สุรา เมรัย กระแช่ น้ำตาลเมา เบียร์ ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา ยาบ้าและยาอี เป็นต้นตลอดถึงสิ่งเสพติดทั้งหลายที่สังเคราะห์ขึ้นด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เมื่อเสพเข้าไปแล้ว ทำให้มึนเมา ก็รวมอยู่ในมัชชะนี้ทั้งนั้น

        ในที่นี้จะขอกล่าวถึง มัชชะ ที่หมายถึงเฉพาะน้ำเมาที่ดื่มเข้าไปแล้ว เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท 10 อย่าง คือ สุรา 5 อย่าง เมรัย 5 อย่าง ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้ในวิภังค์แห่งสุราปานสิกขาบทว่าสุรา มี 5 ชนิด คือ
1) สุราที่ทำด้วยแป้ง
2) สุราที่ทำด้วยขนม
3) สุราที่ทำด้วยข้าวสุก
4) สุราที่ใส่เชื้อ
5) สุราที่ปรุงด้วยเครื่องปรุงมีมะขามป้อม เป็นต้น

เมรัย มี 5 ชนิด คือ
1) น้ำหมักดองด้วยดอกไม้
2) น้ำหมักดองด้วยผลไม้
3) น้ำหมักดองด้วยผลจันทร์
4) น้ำหมักดองด้วยน้ำอ้อย
5) น้ำหมักดองด้วยรสแห่งสมอและมะขามป้อม เป็นต้น

         การดื่มสุราและเมรัย เป็นการบ่อนทำลายศีลธรรมอันดีงามโดยไม่ยั้งคิด เพราะผู้ดื่มจนเมามายแล้วจะต้องประมาท หลงลืมตัว ไร้ความสำนึกผิดชอบชั่วดี เป็นเหตุให้กิเลสกำเริบเสิบสาน ชักพาทำให้ทำความชั่วได้ทุกอย่าง คือยั่วยุให้ลุ่มหลงเกิดขึ้นในใจจนไม่มีสติคอยยับยั้งทำให้เกิดความโลภทำให้เกิดความหลงและเป็นทางให้เกิดความโกรธตามมา เมื่อความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้นแล้ ก็บังคับให้คนทำตามอำนาจของกิเลส ก่อให้ทำความชั่วทั้งกาย ทางวาจาและทางใจโทษแห่งการดื่มน้ำเมา มี 6 ประการคือ

1. ทรัพย์สมบัติเสื่อมสูญ กล่าวคือ ผู้ที่ระเริงหลงอยู่แต่ในสิ่งเสพติด ย่อมจับจ่ายใช้สอยทรัพย์สมบัติเดิมเท่านั้น ไม่ขวนขวายหาทรัพย์สมบัติใหม่ เมื่อของเก่าหมดไป ของใหม่ก็ไม่เกิดขึ้น จนในที่สุด เหลือแต่ตัวเปล่าไร้ทรัพย์สมบัติเป็นคนอยากจนเข็ญใจ หาที่พึ่งไม่ได้

2. ก่อการทะเลาะวิวาท คือ เมื่อสติสัมปชัญญะหมดความรู้สึกไป ปัญญาคิดถูกคิดผิดก็ไม่มี จะทะเลาะเบาะแว้งกันย่อมเกิดได้โดยง่ายเช่น ทะเลาะกันด้วยคำพูดที่ไม่น่าฟัง หยาบคาย ไร้สาระประโยชน์ มีแต่ความแตกร้าวทางความคิด ไม่ปรองดองสามัคคีกันชักนำให้ใช้พละกำลังทางร่างกายเข้าทำร้ายซึ่งกันและกันถึงกับได้รับบาดเจ็บก็มีไม่น้อย

3. เป็นสาเหตุให้เกิดโรคภัยชนิดต่าง ๆ ได้ดี แต่เมื่อดื่มเข้าไปแล้วมาก ๆ สารพิษของยาเสพติดจะเข้าไปสะสมในร่างกายมากขึ้นเรื่อย ๆซึ่งเกินความจำเป็นสำหรับร่างกาย แต่ร่างกายก็ยังถูกยัดเยียดให้รับ เมื่อหมักหมมมากเข้า ก็เป็นบ่อเกิดของโรคภัยต่าง ๆ

4. เป็นเหตุทำให้ทำลายชื่อเสียงเกียรติยศ ผู้คนเมื่อมึนเมาย่อมขาดสติสัมปชัญญะ ไม่รู้จักรับผิดชอบชั่วดี มีพฤติกรรมแสดงออกทั้งทางกาย วาจา และใจในทางทุจริต จึงต้องถูกตำหนิติเตียน ถูกลงโทษ หมดความเชื่อถือ ก่อให้เกิดการเสียชื่อ เสียงเกียรติยศในที่สุด

5. เป็นเหตุให้ไม่เกิดความอาย เพราะเมื่อเสพเข้าไปแล้วย่อมขาด หิริโอตัปปะ คือ ความละอายและเกรงกลัวต่อความชั่ว ทำให้ใจกล้าทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ หรือไม่เหมาะไม่ควร เป็นต้น

6. บั่นทอนกำลังปัญญาให้เสื่อมลง ปกติปัญญาจะเกิดขึ้นหรือใช้การได้ดีนั้น ต้องอาศัยการสำรวมกาย วาจาและใจ ให้เรียบร้อยสงบนิ่ง แล้วมีสติคอยกำกับอยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อเสพสิ่งเสพติดเข้าไปแล้ว จะทำให้การกลับตรงกันข้าม คือ เป็นเหตุบั่นทอนปัญญาให้เลื่อมลง หยุดความยั้งคิด ความรับผิดชอบชั่วดีในการกระทำต่าง ๆ นำความคิดไปสู่ทางเสื่อมโดยส่วนเดียว

        กล่าวโดยสรุป การงดเว้นอบายมุขทุกประเภท เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ได้ประสบแต่สิ่งที่ดี โดยเฉพาะการงดเว้นสิ่งเสพติดทั้งหลายเป็นมงคลชีวิต พระพุทธองค์ได้แสดงอานิสงส์ (ประโยชน์) ไว้ว่า เป็นคนที่มีความเฉลียวฉลาดรู้ทันเหตุการณ์ในอดีต อนาคตและปัจจุบัน มีสติมั่นคงทุกเมื่อ ไม่เป็นบ้า ไม่หลงผิด ไม่หลงงมงาย ไม่มัวมัว ไม่พลั้งเผลอ ไม่หลงไหล ไม่สะดุ้งหวาดผวา ไม่มีเรื่องรำคาญใจ ไม่มีใครริษยา นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดความสุข มีคนเคารพยำเกรง ชอบพูดแต่ความจริงไม่มีใครพูดส่อเสียด ไม่มีใครพูดหยาบคาย ไม่เกียจคร้าน ไม่มีความโลภ โกรธ หลง มีความละอายแก่ใจ รู้จักกลัว มีความเห็นถูกต้อง มีสติปัญญาฉลาดรู้เท่าทันในความเจริญและความเสื่อม เป็นต้น

กุลจิรัฏฐิติธรรม

กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 (reasons for lasting of a wealthy family)กุลจิรัฏฐิติธรรม หมายถึง ธรรมสำหรับดำรงความมั่งคั่งของตระกูลให้ยั่งยืน หรือเหตุที่ทำให้ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ได้นาน ประกอบด้วย

1. นัฎฐคเวสนา หมายถึง ของหายของหมด รู้จักหามาไว้ คือเมื่อมีสิ่งของภายในบ้านสูญหายไป และอยู่ในวิสัยที่จะหามาแทนได้ ก็รู้จักหาวิธีการต่าง ๆ ให้ได้มาซึ่งสิ่งของเหล่านั้น หรือหาสิ่งของอื่น ๆ มาทดแทนไว้ เป็นต้น

2. ชิณณปฏิสังขรณา หมายถึง ของเก่าชำรุด รู้จักบูรณะซ่อมแซม คือการรู้จักบำรุงรักษาและซ่อมแซมสิ่งของที่ชำรุดที่ยังสามารถนำมาใช้ใหม่ได้ หรืออยู่ในสภาพที่ยังสามารถทำงานได้ แต่มีอุปกรณ์บางอย่างชำรุดไป ก็สามารถที่จะซ่อมแซมนำกลับมาใช้ใหม่ได้นอกจากนี้ยังหมายถึงการรู้จักนำสิ่งของที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ได้ใหม่ (recycle)

3. ปริมิตปานโภชนา หมายถึง รู้จักประมาณในการกินการใช้ คือการรู้จักใช้จ่ายทรัพย์สมบัติ รู้จักการประหยัดอดออม รู้จักใช้จ่ายตามฐานะของตนเอง หรือการใช้จ่ายให้เหมาะสมกับฐานะเป็นต้น

4. อธิปัจจสีลวันตสถาปนา หมายถึง ตั้งผู้มีศีลธรรมเป็นพ่อบ้านแม่เรือน คือผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวจะต้องตั้งอยู่ในหลักของ
ศีลธรรม ทำมาหาเลี้ยงชีพในทางที่สุจริต เว้นจากอบายมุข ไม่ลุ่มหลงมัวเมาในกาม เป็นต้น บุคคลที่มีศีลธรรมอันดีจะทำให้ครอบครัวสงบสุข
ในทางตรงกันข้ามตระกูลที่มั่งคั่งอยู่ได้ไม่นาน เพราะสาเหตุ 4 ประการคือ

1. ไม่แสวงหาวัสดุที่หายแล้ว คือเมื่อสิ่งของภายในบ้านสูญหายไป แต่อยู่ในวิสัยที่จะหามาแทน กลับไม่ทำ ไม่แสวงหา หากหายไปบ่อย ๆ สิ่งของแม้จะมีมากเพียงใดก็หมดได้ เปรียบกับภูเขาแม้จะใหญ่โตเพียงใด หากเก็บเอาก้อนหินทีละก้อนออกไปทุกวัน ๆ ภูเขาที่ว่าใหญ่นั้นก็จะไม่มีให้เห็น เงินทองหรือสิ่งของก็เช่นกัน หากมีแต่หยิบออกหรือหายไปแม้จะทีละน้อย ๆ แต่ไม่มีการหามาเพิ่มหรือทดแทน ก็จะหมดสิ้นไปในที่สุด

2. ไม่บูรณะวัสดุที่ชำรุดเสียหาย คือ ไม่บำรุงรักษาและซ่อมแซมสิ่งของที่ชำรุด ไม่ดูแลและไม่ใส่ใจกับสิ่งของที่มีอยู่เหล่านั้นให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ ทิ้งขว้างละเลยและปล่อยให้เสียหายก่อนเวลาอันสมควร ผลสุดท้ายของที่มีอยู่ก็ใช้การไม่ได้

3. ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคทรัพย์สมบัต
คือการจับจ่ายใช้สอยทรัพย์สมบัติมากจนเกินไปโดยไม่คำนึงถึงฐานะของตนเอง เช่น คนที่มีทรัพย์สมบัติมามากและมีรายได้น้อย แต่กลับจับจ่ายใช้สอยเกินกว่าที่ตนมี ที่ตนได้มาทรัพย์สมบัติก็จะไม่มีเหลือและยังจะทำให้มีการก่อหนี้ยืมสินให้เป็นภาระผูกพันตนอีก แม้จะมีทรัพย์สมบัติมากเพียงใดหากไม่รู้จักประมาณในการจับจ่ายใช้สอยแล้วทรัพย์ก็หมดไป คนที่ร่ำรวยก็จะกลับกลายเป็นคนจน คนที่จนอยู่แล้วก็จะกลายเป็นคนสิ้นเนื้อประดาตัวในที่สุด

4. ตั้งสตรีหรือบุรุษผู้ทุศีลให้เป็นแม่บ้านพ่อเรือน คือการแต่งงานกับสตรีหรือบุรุษไม่ดี ซึ่งมักทำลายกฎเกณฑ์ ประพฤติผิดศีลธรรม จริยธรรมเสมอ หรือการไว้วางใจให้สตรีหรือบุรุษเช่นนั้นครอบครองทรัพย์สมบัติ คนเช่นนั้นก็จะมีแต่ผลาญทรัพย์สมบัติให้หมด

  กุศลกรรมบถ หมายถึง ทางแห่งกุศลกรรม,ทางทำความดี หรือกรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติ เป็นสิ่งที่ควรกระทำ ประกอบด้วย
ก. กายสุจริต คือ มีความสุจริตทางกาย ทำสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยกาย 3 ประการ

1) ปาณาติปาตา เวรมณี หมายถึง ละเว้นการฆ่า การสังหาร การบีบคั้นเบียดเบียน มีเมตตากรุณา ช่วยเหลือเกื้อกูลสงเคราะห์
2) อทินนาทานา เวรมณ หมายถึง ละเว้นการแย่งชิงลักขโมย และการเอารัดเอาเปรียบ เคารพสิทธิในทรัพย์สินของกันและกัน
3) กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณหมายถึง ละเว้นการประพฤติผิดล่วงละเมิดในของรักของหวงแหนของผู้อื่น ไม่ข่มเหงจิตใจ หรือทำลายลบหลู่เกียรติและวงศ์ตระกูล

ข. วจีสุจริต คือ มีความสุจริตทางวาจา พูดในสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยวาจา มี 4 ประการ คือ
4) มุสาวาทา เวรมณี หมายถึง ละเว้นการพูดเท็จ โกหกหลอกลวง ,กล่าวแต่คำสัตย์ ไม่จงใจพูดให้ผิดจากความเป็นจริง เพราะเห็นแก่ผลประโยชน์ใด ๆ
5) ปิสุณาย วาจาย เวรมณหมายถึง ละเว้นการพูดด้วยคำพูดส่อเสียด ยุยง สร้างความแตกแยก พูดแต่คำที่สมานและส่งเสริมสามัคคี
6) ผรุสาย วาจาย เวรมณ หมายถึง ละเว้นการพูดคำหยาบ สกปรกเสียหาย :พูดแต่คำสุภาพ นุ่มนวล ชวนฟัง
7) สัมผัปปลาปา เวรมณี หมายถึง ละเว้นการพูดจาเหลวไหลเพ้อเจ้อ : พูดแต่คำจริง มีเหตุมีผล มีสาระประโยชน์ ถูกกาลเทศะ

ค. มโนสุจริต คือ มีความสุจริตทางใจ คิดสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยจื มี 3 ประการคือ
8) อนภิชฌา หมายถึง ไม่ละโมบ ไม่เพ่งเล็งคิดหาทางเอาแต่จะได้ :คิดให้ คิดเสียสละ ทำใจให้เผื่อแผ่กว้างขวาง
9) อพยาบาท หมายถึง ไม่คิดร้ายมุ่งเบียดเบียนหรือจ้องที่จะทำลาย ตั้งความปรารถนาดี แผ่ไมตรี มุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่กัน
10) สัมมาทิฏฐิ หมายถึง มีความเห็นถูกต้อง เป็นสัมมาทิฏฐิ เข้าใจในหลักกรรมว่า ทำดีมีผลดี ทำชั่วมีผลชั่ว : รู้เท่าทันความจริง4. ธัมมานุปัสสนา สติปัฎฐาน หมายถึง การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรมให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา คือ มีสติรู้ชัดในหลักธรรมทั้งหลาย ได้แก่ นิวรณ์ 5 (ความใคร่ในกาม ความพยาบาท ความหดหู่ใจ ความฟุ้งซ่านกังวลและความสงสัยไม่แน่ใจ) ขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ) อายตะ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ) โพชฌงค์ 7(สติ การสืบค้นธรรม ความเพียร ความอิ่มใจ ความสงบกายสงบใจ ความตั้งใจมั่น ความวางเฉย) และอริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ธรรมแต่ละอย่างมีอยู่ในใจตนหรือไม่ ที่ยังไม่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้วจะละได้อย่างไร ที่ละได้แล้ว จะไม่ทำให้เกิดขึ้นอีกต่อไปได้อย่างไร รู้ชัดตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้น ๆ

สุข ๒

สุข 2 (happiness)



        ความสุข คือความดับทุกข์การสิ้นทุกข์ (นิโรธ) ทั้งปวง ความดับทุกข์ หมายถึง หมดความทุกข์ บรรลุความสุขอันสูงสุด ความสุขมีความสำคัญมากในการปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนา อาจกล่าวได้ว่า พุทธจริยธรรมไม่แยกส่วนต่างหากจากความสุข เริ่มตั้งแต่ขั้นต้นในการทำความดีหรือกรรมดีทั่ว ๆ ไปที่เรียกว่า บุญ ก็มีพุทธพจน์ตรัสว่า “บุญเป็นเรื่องของความสุข” ในการบำเพ็ญเพียรทางจิตหรือเจริญภาวนา ความสุขก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เกิดสมาธิ ดังพุทธพจน์ ว่า “ผู้มีสุข จิตย่อมตั้งมั่น(เป็นสมาธิ)” และเมื่อจิตเป็นสมาธิบรรลุฌานแล้ว ความสุขก็เป็นองค์ประกอบของฌาน และสุขที่ประณีตขึ้นไปอีก คือจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือ นิพพาน ก็เป็นความสุข และเป็นบรมสุขคือ สุขสูงสุดอีกด้วย นอกจากนั้น จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาที่เป็นบรมสุขหรือโพธินั้น ก็พึงบรรลุได้ด้วยความสุข หรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์ สุข 2 ในที่นี้หมายถึง ความสุข 2 ลักษณะคือ

1. สามิสสุข (sensual happiness) หมายถึง ความสุขทางวัตถุ คือความสุขที่เกิดจากกามคุณ หรือความสุขทางโลกีย์ เช่นความสุขที่เกิดจากการได้เห็นรูป ได้ลิ้มรส ได้ดมกลิ่น ได้ยินเสียง และการสัมผัส เป็นที่พึงพอใจ เป็นที่น่าใคร่น่าปารถนา เป็นต้น

2. นิรามิสสุข (spirituall happiness) หมายถึง ความสุขทางใจ คือ ความสุขปลอดโปร่งเพราะใจสงบ หรือได้รู้แจ้งตามความเป็นจริงเป็นความสุขที่ไม่อิงอาศัยวัตถุ เป็นต้นบุพพนิมิตของมัชฌิมปฏิปทา

        บุพพนิมิตของมัชฌิมปฏิปทา ก็คือบุพภาคของการศึกษา หมายถึง ส่วนเบื้องต้นของการศึกษา นั่นคือ “สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ” เป็นองค์ประกอบสำคัญของมรรค ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรม หรือเป็นขั้นเริ่มแรกในระบบการศึกษาตามหลักการของพระพุทธศาสนา และเป็นธรรมที่ต้องพัฒนาให้บริสุทธิ์ ชัดเจน เป็นอิสระมากขึ้นตามลำดับ จนกลายเป็นการตรัสรู้ในที่สุด

        สัมมาทิฎฐิ คือปัญญาชั้นสูงที่เกิดจาการสั่งสอนอบรมในด้านจิตใจ จนเห็นสัจจะทั้งปวงว่าอะไรควรข้องแวะ อะไรควรละอย่างชัดเจน การจัดการศึกษาจนได้ปัญญาประเภทสัมมาทิฎฐิ คือการวางรากฐานความถูกต้องให้แก่วิชาการทั้งปวง ความรู้ใด ๆ ก็ตามที่ตั้งอยู่บนสัมมาทิฎฐิ ล้วนเป็นความรู้ที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่ใคร แต่จะสร้างสรรค์ประโยชน์ฝ่ายเดียว พื้นฐานสำคัญของการเรียนการสอนวิชาต่างๆ ต้องมีสัมมาทิฏฐิเป็นแกนกลาง พระพุทธองค์ก็ได้ชี้ชัดว่าการเกิดสัมมาทิฏฐิมาจากเหตุสองอย่าง คือ

1. ปรโตโฆสะ คือปัจจัยกระตุ้นการเรียนรู้จากภายนอก เช่น การแนะนำ การถ่ายทอด การโฆษณา คำบอกเล่า ตลอดจนการเลียนแบบจากพ่อ แม่ ครู เพื่อน ซึ่งหมายเอาเฉพาะการเรียนจากส่วนที่ดีงามถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับฟังธรรม ความรู้ หรือคำแนะแนะนำจากบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร บุคคลที่ทรงคุณธรรม เป็นต้น

2. โยนิโสมนสิการ
คือปัจจัยกระตุ้นการเรียนรู้จากภายใน หมายถึงการคิดอย่างแยบคาย หรือความรู้จักคิด คิดอย่างมีระบบ คิดอย่างมีกระบวนการ คิดรอบด้าน หรือคิดตามแนวทางปัญญา คือรู้จักมอง รู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลายตามสภาวะ ตามความเป็นจริง ซึ่ง โยนิโสมนสิการ เป็นองค์ประกอบภายใน ได้แก่ปัจจัยภายในตัวบุคคล เรียกว่า วิธีการแห่งปัญญา นั่นก็คือ วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการเป็นวิธีคิดที่ก่อให้เกิดปัญญา

         ปัจจัยทั้งสองอย่างนี้ย่อมสนับสนุนซึ่งกันและกัน สำหรับคนสามัญซึ่งมีปัญญาไม่แก่กล้า ย่อมต้องอาศัยการแนะนำชักจูงจากผู้อื่น (ปรโตโฆสะ) และคล้อยตามคำแนะนำชักจูงที่ฉลาดได้ง่าย แต่ก็จะต้องฝึกหัดให้สามารถใช้ความคิดอย่างถูกวิธี (โยนิโสมนสิการ) ด้วยตนเองได้ด้วย จึงจะก้าวหน้าไปถึงที่สุดได้ ส่วนคนที่มีปัญญาแก่กล้าย่อมรู้จักใช้โยนิโสมนสิการได้ดีกว่า แต่อย่างไรก็ตามก็อาจต้องอาศัยคำแนะนำที่ถูกต้องเป็นเครื่องนำทางในเบื้องต้น และเป็นเครื่องช่วยส่งเสริมให้ก้าวหน้าไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้นในระหว่างการฝึกอบรม
การสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิ ด้วยปรโตโฆสะ ก็คือ วิธีการที่เริ่มต้นด้วยศรัทธาและอาศัยศรัทธาเป็นสำคัญ เมื่อนำมาใช้ปฏิบัติในระบบการศึกษาอบรม จึงต้องพิจารณาที่จะให้ได้รับการแนะนำชักจูงสั่งสอนอบรมที่ได้ผลดีที่สุด คือ ต้องมีผู้สั่งสอนอบรมที่เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติมีความรู้ความสามารถและใช้วิธีการอบรมสั่งสอนที่ได้ผล ดังนั้นในระบบการศึกษาอบรมจึงจำกัดให้ได้ในปรโตโฆสะที่มุ่งหมายด้วยหลักที่เรียกว่ากัลยาณมิตร (ผู้แนะนำสั่งสอนที่ดี เพื่อนที่ดี สภาพแวดล้อมที่ดี) ส่วนโยนิโสมนสิการ เป็นตัวหลักการใช้ปัญญา ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าควรใช้ความคิดให้ถูกต้องอย่างไร เมื่อนำปัจจัยทั้งสองมาประกอบกัน นับว่า กัลยาณมิตร เป็นองค์ประกอบภายนอก และโยนิโสมนสิการ เป็นองค์ประกอบภายใน


 ดรุณธรรม

         ดรุณธรรม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัฒนมุข หมายถึง ธรรมที่เป็นหนทางแห่งความสำเร็จ คือ การเปิดประตูสู่ความเจริญก้าวหน้า ดำเนินตามหลักธรรมที่เป็นทวารแห่งประโยชน์สุข หรือข้อปฏิบัติที่เป็นดุจประตูชัยอันเปิดออกไปสู่ความเจริญก้าวหน้าของชีวิต มี 6 ประการคือ

1. อโรคยะ หมายถึง การรักษาสุขภาพดี มีลาภอันประเสริฐ คือความไร้โรคทั้งทางจิตและทางกาย
2. ศีล หมายถึง การมีระเบียบวินัยดี มีความประพฤติที่ดี มีมารยาทดีงาม ไม่ก่อความเดือดร้อนแก่สังคม
3. พุทธานุมัต หมายถึง ได้คนดีเป็นแบบอย่าง ศึกษาเยี่ยงอย่าง นิยมแบบอย่างของมหาบุรุษพุทธชน หรือบุคคลผู้มีความประพฤติของศีลธรรมอันดีงาม
4. สุตะ หมายถึง การตั้งใจเรียนให้รู้จริง คือการศึกษาเล่าเรียน ค้นคว้าให้รู้ให้เชี่ยวชาญ ใฝ่สดับตรับฟังเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้รู้เท่าทัน
5. ธรรมานุวัต หมายถึง ทำแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงาม คือ ดำรงมั่นในสุจริต ทั้งชีวิตและการงาน โดยดำเนินตามหลักธรรม
6. อลีนตา หมายถึง มีความขยันหมั่นเพียร คือมีกำลังใจแข็งกล้า ไม่ท้อถอยเฉื่อยชา เพียรพยายามหาความก้าวหน้าเรื่อยไป

อกุศลกรรมบถ ๑๐

อกุศลกรรมบถ 10        อกุศลกรรมบถ หมายถึง ทางแห่งอกุศล ,ทางทำความชั่ว กรรมชั่วอันเป็นทางนำไปสู่ความเสื่อม ความทุกข์ หรือทุกคติเป็นสภาพที่ทำให้จิตเสียคุณภาพและเสื่อมสมรรถภาพ ดังนั้น ส่วนที่เป็นอกุศลกรรมบถ เป็นสิ่งที่ควรละเสีย ประกอบด้วย

ก. กายกรรม 3 หมายถึง การกระทำชั่วทางกาย ได้แก่
1. ปาณาติบาต           หมายถึง การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การทำร้ายหรือเบียดเบียนบุคคลอื่น
2. อทินนาทาน           หมายถึง การขโมย การลักทรัพย์ การถือเอาของที่เขามิได้ให้ ไม่ได้อนุญาต
3. กาเมสุมิจฉาจาร      หมายถึง ความประพฤติผิดในกาม การล่วงละเมิดทางเพศต่อบุคคลอื่น

ข. วิจีกรรม 4
 หมายถึง การกระทำชั่วทางวาจา ได้แก่
4. มุสาวาท              หมายถึง การพูดเท็จ การพูดโกหก
5 ปิสุณาวาจา            หมายถึง การพูดส่อเสียด เหยียดหยามดูแคลนคนอื่น
6. ผรุสวาจา             หมายถึง การพูดคำหยาบ
7. สัมผัปปลาปะ         หมายถึง การพูดเพ้อเจ้อ พูดโอ้อวด พูดไม่มีสาระ

ค. มโนกรรม 3 หมายถึง การกระทำชั่วทางใจ ได้แก่
8. อภิชฌา               หมายถึง คิดอยากได้ของผู้อื่น
9. พยาบาท              หมายถึง การคิดร้ายผู้อื่น การแค้นใจต่อผู้อื่น
10. มิจฉาทิฏฐิ          หมายถึง ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม ความเห็นผิดเป็นชอบ ดังสำนวนที่ว่า เห็นกงจักรเป็นดอกบัว

 อบายมุข 6
       อบายมุข หมายถึง ช่องทางแห่งความเสื่อม ,ทางแห่งความพินาศ,หรือเหตุให้เกิดความย่อยยับแห่งโภคทรัพย์ เป็นสิ่งที่ควรละเว้น ประกอบด้วย

1. ติดสุราและของมึนเมา มีโทษ 6 ประการคือ


1.1 เสียทรัพย์ คือทรัพย์หมดไป ๆ เห็นชัด
1.2 ก่อการทะเลาะวิวาท
1.3 ทำลายสุขภาพ
1.4 เสื่อมเสียเกียรติยศชื่อเสียง
1.5 ไม่รู้จักอาย
1.6 บั่นทอนกำลังปัญญา

2. ชอบเที่ยวกลางคืน มีโทษ 6 ประการคือ
2.1 เป็นการไม่รักษาตัว
2.2 เป็นการไม่รักษาลูกเมีย
2.3 เป็นการไม่รักษาทรัพย์สมบัติ
2.4 เป็นที่ระแวงสงสัย เป็นผู้ต้องสงสัย
2.5 เป็นเป้าให้เขาใส่ความหรือเป็นที่เล่าลือของบุคคลอื่น

2.6 นำเรื่องเดือดร้อนมาให้ตนเองและครอบครัว

3. ชอบดูการละเล่น มีโทษคือทำให้การงานเสื่อมเสีย เพราะใจกังวลคอยคิดแต่การละเล่น และเสียเวลาเมื่อไปดูสิ่งนั้น ๆ 6 ประการคือ



3.1 เต้นรำที่ไหนไปที่นั่น
3.2 ขับร้องที่ไหนไปที่นั่น
3.3 ดีดสีตีเป่า(ดนตรี) ที่ไหนไปที่นั่น
3.4 เสภาที่ไหนไปที่นั่น
3.5 เพลงที่ไหนไปที่นั่น
3.6 เถิดเทิงที่ไหน ไปที่นั่น

4. ติดการพนัน เป็นนักพนัน เป็นคนที่ชอบเล่นการพนัน มีโทษ 6 ประการคือ
4.1 เมื่อชนะย่อมก่อเวร
4.2 เมื่อแพ้ก็เสียดายทรัพย์สินที่เสียไป
4.3 เสียทรัพย์ ทรัพย์หมดไป ๆ เห็นได้ชัด
4.4 เข้าที่ประชุม เขาไม่เชื่อถ้อยคำ
4.5 เป็นที่หมิ่นประมาทของเพื่อนฝูง
4.6 ไม่เป็นที่พึงประสงค์ของผู้ที่จะหาคู่ครองให้ลูกของเขา เพราะเห็นว่าจะเลี้ยงลูกเมียไม่ไหว

5. คบคนชั่ว ทำให้เกิดโทษ โดยนำให้กลายไปเป็นคนชั่วอย่างคนที่ตนคบทั้ง 6 ประเภท คือ
5.1 นักการพนัน
5.2 นักเลงผู้หญิง
5.3 นักเลงเหล้าและสิ่งเสพติดต่าง ๆ
5.4 นักลวงของปลอม
5.5 นักหลอกลวง
5.6 นักเลงหัวไม้

6. เกียจคร้านทำการงาน มีโทษ โดยทำให้ยกเหตุต่าง ๆ เป็นข้ออ้าง ผลัดวันประกันพรุ่ง ไม่ทำการงานโภคทรัพย์ใหม่ก็ไม่เกิดโภคทรัพย์เก่าที่มีอยู่ก็หมดไป คืออ้างไปทั้ง 6 กรณีว่า

6.1 มักอ้างว่า หนาวนัก แล้วไม่ทำงาน
6.2 มักอ้างว่า ร้อนนัก แล้วไม่ทำงาน
6.3 มักอ้างว่า เย็นแล้ว แล้วไม่ทำงาน
6.4 มักอ้างว่า ยังเช้าอยู่ แล้วไม่ทำงาน
6.5 มักอ้างว่า หิว กระหายน้ำ แล้วไม่ทำงาน
6.6 มักอ้างว่า อิ่มนัก แล้วไม่ทำงาน

           บุคคลในสังคมใดมัวเมามั่วสุมอยู่ในอบายมุขดังกล่าวข้างต้นสังคมนั้นจะพบแต่ความเสื่อมความพินาศหายนะโดยไม่ต้องสงสัยหากคนในสังคมต้องการให้ตนเอง ครอบครัวและสังคมมีความเจริญรุ่งเรือง มีความสุข ก็จำต้องละเว้นอบายมุข ทั้ง 6 เหล่านั้นเสีย
ตั้งหน้าทำมาหากินโดยสุจริต ด้วยความขยันหมั่นเพียรให้การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สังคมก็จะมีแต่ความสุข ความเจริญอย่างแน่นอน

พระรัตนตรัย

 พระรัตนตรัย : ความหมายและคุณค่าของธรรมคุณ 6ความหมายและคุณค่าของธรรมคุณ 6

         ธรรมคุณ หมายถึง คุณของพระธรรม ประกอบด้วย

1. สฺวาขาโต ภควตา ธมฺโม แปลว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว คือตรัสไว้เป็นความจริงแท้ อีกทั้งงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งธรรม(เนื้อความใจความ) พร้อมทั้งพยัญชนะ(อักษร) ประกาศหลักการครองชีวิตอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง

2. สฺนทิฏฐิโก แปลว่า อันผู้ปฏิบัติธรรมจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง คือผู้ใดปฏิบัติธรรม ผู้ใดบรรลุธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นประจักษ์ด้วยตนเองไม่ต้องเชื่อตามคำบอกของผู้อื่น ผู้ใดไม่ปฏิบัติธรรม ไม่บรรลุธรรม ถึงผู้อื่นจะบอกก็เห็นชัดไม่ได้

3. อกาลิโก แปลว่า ไม่ประกอบด้วยภาค คือ การปฏิบัติธรรมไม่ขึ้นกับกาลเวลา พร้อมเมื่อใด บรรลุได้ทันที บรรลุเมื่อใด เห็นผมได้ทันทีอีกอย่างว่าความเจริญเป็นอยู่อย่างไร ก็เป็นอยู่อย่างนั้น ไม่จำกัดด้วยกาลเวลา

4. เอหิปสฺสิโก แปลว่า ควรเรียกให้มาดู คือเชิญชวนให้มาชมและพิสูจน์ได้ หรือท้าทายต่อการตรวจเป็นของจริงและดีจริง

5. โอปนยิโก แปลว่า ควรน้อมเข้ามา คือ ควรน้อมนำหลักธรรมเข้ามาไว้ในใจ หรือน้อมใจเข้าไปให้ถึงหลักธรรมด้วยการปฏิบัติให้เกิดมีขึ้นในใจหรือให้ใจบรรลุถึงอย่างนั้น หมายความว่าเชิญชวนให้ทดลองปฏิบัติดูอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นสิ่งที่นำผู้ปฏิบัติให้เข้าไปถึงที่หมายคือนิพพาน

6. ปจฺจตฺตํ เวทพตพฺโพ วิญฺญูหแปลว่า อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน คือเป็นวิสัยของวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตนเองเท่านั้น หรือรู้ได้จำเพาะตน ต้องทำต้องปฏิบัติจึงรับรู้หรือเสวยได้ เฉพาะตัว ทำให้กันไม่ได้ เอาจากกันไม่ได้ และรู้ได้ประจักษ์ที่ในใจของตนนี่เองคุณข้อที่ 1 มีความหมายกว้างรวมทั้งปริยัติธรรม คือคำสั่งสอน ส่วนข้อที่ 2-6 มุ่งให้บุคคลบรรลุถึงโลกุตตรธรรม
อายตนะ
        แม้ว่าชีวิตจะประกอบด้วยขันธ์ 5 ซึ่งแบ่งซอยออกไปเป็นหน่วยย่อยต่าง ๆ มากมาย แต่ในทางปฏิบัติ คือในการดำเนินชีวิต ทั่วไปมนุษย์ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับส่วนประกอบเหล่านั้นโดยทั่วถึงแต่อย่างใด ส่วนประกอบหลายอย่างมีอยู่และทำหน้าที่ของมันเป็นโดยมนุษย์ไม่รู้จักหรือแม้รู้จักก็แทบไม่ได้นึกถึงเลย เช่น ในด้านรูปธรรม อวัยวะภายในร่างกายหลายอย่างทำหน้าที่ของมันอยู่โดยมนุษย์ผู้เป็นเจ้าของไม่รู้และไม่ได้ใส่ใจที่จะรู้ จนบางคราวมันเกิดความวิปริตหรือทำหน้าที่บกพร่องขึ้น มนุษย์จึงจะหันมาสนใจ แม้องค์ประกอบต่างในการะบวนการผ่ายจิตก็เป็นเช่นเดียวกัน การศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ และกระบวนการทำงานด้านจิตใจเราปล่อยให้เป็นภาระของนักศึกษาทางแพทยศาสตร์และชีววิทยา ส่วนการศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบและกระบวนการทำงานด้านจิตใจ เราปล่อยให้เป็นภาระของนักอภิธรรมและนักจิตวิทยา แต่สำหรับคนทั่วไป ความหมายของชีวิตอยู่ที่ชีวิตในทางปฏิบัติ หรือชีวิตที่ดำเนินอยู่เป็นประจำในแต่ละวัน ซึ่งได้แก่การติดต่อเกี่ยวข้องกับโลก สิ่งที่ให้ความหมายแก่ชีวิต คือการติดต่อเกี่ยวข้องกับโลกหรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า ชีวิตตามความหมายของมนุษย์คือชีวิตโดยความสัมพันธ์กับโลก ชีวิตในทางปฏิบัติหรือชีวิตโดยความสัมพันธ์กับโลกได้ ซึ่งเรียกว่า”ทวาร”(ประตู, ช่องทาง)หรืออายตนะ

       อายตนะ แปลว่า ที่ต่อ หรือแดน หมายถึงที่ต่อกันให้เกิดความรู้ แดนเชื่อมต่อให้เกิดความรู้หรือแหล่งที่มาของความรู้ แปลอย่างง่าย ๆ ว่า ทางรับรู้ แบ่งออกเป็น

1.อายตนะภายใน หมายถึง ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้ แดนต่อความรู้ฝ่ายภายใน ได้แก่ ตา(จักขุ) หู(โสตะ) จมูก (ฆานะ) ลิ้น (ชิวหา) กาย (กาย) ใจ (มโน) ทั้ง 6 นี้เรียกอีกอย่างว่า อินทรีย์ 6 เพราะเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนแต่ละอย่าง เช่น จักขุ เป็นเจ้าในการเห็น เป็นต้น

2. อายตนะภายนอก หมายถึง ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้ แดนต่อความรู้ฝ่ายภายนอก ได้แก่ รูป (รูปะ) คือสิ่งที่เห็น เสียง (สัททะ)
กลิ่น (คันสะ) รส (รสะ) สัมผัสทางกาย (โผฏฐัพพะ) อารมณ์ที่เกิดกับใจ สิ่งที่ใจนึกคิด(ธรรมารมณ์) ทั้ง 6 นี้ เรียกทั่วไปว่า อารมณ์ 6 คือ เป็นสิ่งสำหรับให้ใจยึดหน่วงเมื่ออายตนะภายใน ซึ่งเป็นแดนรับรู้ กระทบกับอารมณ์(อายตนะภายนอก)ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ก็จะเกิดความรู้จำเพาะด้านของอายตนะแต่ละอย่าง ๆ ขึ้น เช่น ตากระทบรูป เกิดความรู้เรียกว่า เห็น หูกระทบเสียง เกิดความรู้ เรียกว่า ได้ยิน เป็นต้น ความรู้จำเพาะแต่ละด้านนี้เรียกว่า “วิญญาณ” แปลว่า ความรู้แจ้ง คือรู้อารมณ์ ดังนั้น จึงมีวิญญาณ 6 อย่าง เท่ากับอายตนะและอารมณ์ 6 คู่ คือ วิญญาณทางตา ได้แก่เห็นวิญญาณทางหู ได้แก่ ได้ยิน วิญญาณทางจมูก ได้แก่ ได้กลิ่น วิญญาณทางลิ้น ได้แก่ รู้รส วิญญาณทางกาย ได้แก่ รู้สิ่งที่ต้องกาย วิญญาณทางใจ ได้แก่ รู้อารมณ์ทางใจ หรือรู้เรื่องในใจ

ความสัมพันธ์ระหว่าง อายตนะ 6 อารมณ์ 6 และวิญญาณ 6
ดังนี้
อายตะ 6 อารมณ์ 6 วิญญาณ 6

1. จักขุ – ตา
เป็นแดนรับรู้ รูปะ - รูป เกิดความรู้ คือ จักขุวิญญาณ – เห็น
2. โสตะ – หู เป็นแดนรับรู้-สัททะ - เสียง เกิดความรู้ คือ โสตวิญญาณ – ได้ยิน
3. ฆานะ -จมูก เป็นแดนรับรู้ คันธะ - กลิ่น เกิดความรู้ คือ ฆานวิญญาณ – ได้กลิ่น
4. ชิวหา - ลิ้น เป็นแดนรับรู้ รส - รส เกิดความรู้ คือ ชิวหาวิญญาณ - รู้รส
5. กาย - กาย เป็นแดนรับรู้ โผฏฐัพพะ - สิ่งต้องกาย เกิดความรู้ คือ กายวิญญาณ – รู้สิ่งต้องกาย
6. มโน - ใจ เป็นแดนรับรู้ ธรรมารมณ์ - เรื่องในใจ เกิดความรู้ คือมโนวิญญาณ – รู้เรื่องในใจ
สมบัติ 4

        สมบัติ หมายถึง ข้อดี ความเพียบพร้อม ความสมบูรณ์แห่งองค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งอำนวยแก่การให้ผลของกรรมดี และไม่เปิดช่องให้กรรมชั่วแสดงผล หรือส่วนประกอบอำนวยช่วยเสริมกรรมดี ประกอบด้วย

1. คติสมบัตหมายถึง สมบัติแห่งคติ หรือถึงพร้อมด้วยคติ ในช่วงยาว หมายถึง เกิดในกำเนิดอันอำนวย หรือที่เกิดอันเจริญในช่วงสั้น หมายถึง ที่อยู่ ที่ไป ทางดำเนินดีหรือทำสิ่งที่ถูกต้อง คือในกรณีนั้น ๆ สภาพแวดล้อมนั้น ๆ ถิ่นที่อยู่นั้น ๆ ตลอดถึงแนวทางดำเนินชีวิตขณะนั้น เอื้ออำนายแก่การกระทำความดี หรือการเจริญงอกงามของความดี ทำให้ความดีปรากฏโดยง่าย

2. อุปธิสมบัต หมายถึง สมบัติแห่งร่างกาย ถึงพร้อมด้วยรูปกาย มีรูปกายที่ดีพร้อม ในช่วงยาว หมายถึง มีการสง่า สวยงามบุคลิกภาพดี ในช่วงสั้น หมายถึง มีร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพดี

3. กายสมบัตหมายถึง สมบัติแห่งกาล ถึงพร้อมด้วยกาล ในช่วงยาวหมายถึง เกิดอยู่ในสมัยที่โลกมีความเจริญ หรือบ้านเมืองสงบสุข มีการปกครองที่ดี คนในสังคมอยู่ในศีลธรรม สามัคคีกัน ยกย่องคนดี ไม่ส่งเสริมคนชั่ว ในช่วงสั้น หมายถึง ทำถูกกาลเวลา

4. ปโยคสมบัต หมายถึง สมบัติแห่งการประกอบ ถึงพร้อมด้วยการประกอบความเพียร ในช่วงยาวหมายถึง ฝักใฝ่ในทางที่ถูก นำความเพียรไปใช้ขวานขวายประกอบการที่ถูกต้องดีงาม มีปกติประกอบกิจการงานที่ถูกต้อง ทำแต่ความดีงามอยู่แล้ว ในช่วงสั้น หมายถึง เมื่อทำกรรมดี ก็ทำให้ถึงขนาด ทำจริงจัง ให้ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ ใช้วิธีการที่เหมาะกับเรื่อง หรือทำความดีต่อเนื่องมาเป็นพื้นแล้ว กรรมดีที่ทำเสริมเข้าไปอีก จึงเห็นผลได้ง่าย

วิบัติ 4

        วิบัติ หมายถึง ข้อเสีย,จุดอ่อน,ความบกพร่องแห่งองค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งไม่อำนวยแก่การให้ผลดีของกรรมดี แต่เปิดช่องให้กรรมชั่วแสดงผล หรือส่วนประกอบบกพร่อง เปิดช่องให้กรรมชั่ว ประกอบด้วย

1. คติวิบัตหมายถึง วิบัติแห่งคติ,คติเสีย ในช่วงยาวหมายถึง เกิดในกำเนินต่ำทราม หรือเกิดในที่ไร้ความเจริญ ในช่วงสั้น หมายถึง ที่อยู่ ที่ไป ทางดำเนินชีวิตไม่ดี หรือทำไม่ถูกเรื่อง ไม่ถูกที่ คือ ในกรณีนั้น ๆ สภาพแวดล้อมนั้น ๆ ถิ่นนั้น ๆ ตลอดถึงแนวทางดำเนินชีวิตขณะนั้นไม่เอื้ออำนวยแก่การกระทำความดีหรือการเจริญงอกงามของความดี แต่กลับเปิดทางให้แก่ความชั่วและผลร้าย

2. อุปธิวิบัต หมายถึง วิบัติแห่งร่างกาย ,รูปกายเสีย ในช่วงยาว หมายถึง ร่างกายพิการ ไม่งดงาม บุคลิกภาพไม่ดี ในช่วงสั้น หมายถึง สุขภาพไม่ดี เจ็บป่วย มีโรคเบียดเบียน

3. กาลวิบัติ หมายถึง วิบัติแห่งกาล กาลเสีย ในช่วงยาวหมายถึง เกิดในสมัยที่โลกไม่มีความเจริญ หรือบ้านเมืองมีแต่ภัยพิบัติ ผู้ปกครองไม่ดี สังคมเสื่อมจากศีลธรรม มีการกดขี่เบียดเบียนกันมาก ยกย่องคนชั่วเป็นใหญ่ บีบคั้นคนดี เป็นต้น ในช่วงสั้นหมายถึง ทำผิดกาลเวลา

4. ปโยควิบัติ หมายถึง วิบัติแห่งการประกอบกิจการเสีย ในช่วงยาวหมายถึง ฝักใฝ่ในทางที่ผิด ประกอบกิจการงานที่ผิด หรือมีปกติชอบกระทำแต่ความชั่ว ในช่วงสั้น หมายถึง เมื่อกระทำกรรมดี ก็ไม่ทำให้ถึงขนาด ไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ ทำจับจดใช้วิธีการไม่เหมาะกับเรื่อง หรือเมื่อประกอบคาวมดีต่อเนื่องมา แต่กลับทำความชั่วหักล้างความดี เป็นต้น

         วิบัติ 4 นี้ เป็นสิ่งที่จะต้องนำมาประกอบการพิจารณาในเรื่องการให้ผลของกรรม เพราะการปรากฏของวิบากกรรม นอกจากอาศัยเหตุหรือกรรมแล้ว ยังต้องอาศัยฐานคือ คติ อุปธิ กาละ และปโยคะ เป็นปัจจัยประกอบด้วย