วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กุลจิรัฏฐิติธรรม

กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 (reasons for lasting of a wealthy family)กุลจิรัฏฐิติธรรม หมายถึง ธรรมสำหรับดำรงความมั่งคั่งของตระกูลให้ยั่งยืน หรือเหตุที่ทำให้ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ได้นาน ประกอบด้วย

1. นัฎฐคเวสนา หมายถึง ของหายของหมด รู้จักหามาไว้ คือเมื่อมีสิ่งของภายในบ้านสูญหายไป และอยู่ในวิสัยที่จะหามาแทนได้ ก็รู้จักหาวิธีการต่าง ๆ ให้ได้มาซึ่งสิ่งของเหล่านั้น หรือหาสิ่งของอื่น ๆ มาทดแทนไว้ เป็นต้น

2. ชิณณปฏิสังขรณา หมายถึง ของเก่าชำรุด รู้จักบูรณะซ่อมแซม คือการรู้จักบำรุงรักษาและซ่อมแซมสิ่งของที่ชำรุดที่ยังสามารถนำมาใช้ใหม่ได้ หรืออยู่ในสภาพที่ยังสามารถทำงานได้ แต่มีอุปกรณ์บางอย่างชำรุดไป ก็สามารถที่จะซ่อมแซมนำกลับมาใช้ใหม่ได้นอกจากนี้ยังหมายถึงการรู้จักนำสิ่งของที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ได้ใหม่ (recycle)

3. ปริมิตปานโภชนา หมายถึง รู้จักประมาณในการกินการใช้ คือการรู้จักใช้จ่ายทรัพย์สมบัติ รู้จักการประหยัดอดออม รู้จักใช้จ่ายตามฐานะของตนเอง หรือการใช้จ่ายให้เหมาะสมกับฐานะเป็นต้น

4. อธิปัจจสีลวันตสถาปนา หมายถึง ตั้งผู้มีศีลธรรมเป็นพ่อบ้านแม่เรือน คือผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวจะต้องตั้งอยู่ในหลักของ
ศีลธรรม ทำมาหาเลี้ยงชีพในทางที่สุจริต เว้นจากอบายมุข ไม่ลุ่มหลงมัวเมาในกาม เป็นต้น บุคคลที่มีศีลธรรมอันดีจะทำให้ครอบครัวสงบสุข
ในทางตรงกันข้ามตระกูลที่มั่งคั่งอยู่ได้ไม่นาน เพราะสาเหตุ 4 ประการคือ

1. ไม่แสวงหาวัสดุที่หายแล้ว คือเมื่อสิ่งของภายในบ้านสูญหายไป แต่อยู่ในวิสัยที่จะหามาแทน กลับไม่ทำ ไม่แสวงหา หากหายไปบ่อย ๆ สิ่งของแม้จะมีมากเพียงใดก็หมดได้ เปรียบกับภูเขาแม้จะใหญ่โตเพียงใด หากเก็บเอาก้อนหินทีละก้อนออกไปทุกวัน ๆ ภูเขาที่ว่าใหญ่นั้นก็จะไม่มีให้เห็น เงินทองหรือสิ่งของก็เช่นกัน หากมีแต่หยิบออกหรือหายไปแม้จะทีละน้อย ๆ แต่ไม่มีการหามาเพิ่มหรือทดแทน ก็จะหมดสิ้นไปในที่สุด

2. ไม่บูรณะวัสดุที่ชำรุดเสียหาย คือ ไม่บำรุงรักษาและซ่อมแซมสิ่งของที่ชำรุด ไม่ดูแลและไม่ใส่ใจกับสิ่งของที่มีอยู่เหล่านั้นให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ ทิ้งขว้างละเลยและปล่อยให้เสียหายก่อนเวลาอันสมควร ผลสุดท้ายของที่มีอยู่ก็ใช้การไม่ได้

3. ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคทรัพย์สมบัต
คือการจับจ่ายใช้สอยทรัพย์สมบัติมากจนเกินไปโดยไม่คำนึงถึงฐานะของตนเอง เช่น คนที่มีทรัพย์สมบัติมามากและมีรายได้น้อย แต่กลับจับจ่ายใช้สอยเกินกว่าที่ตนมี ที่ตนได้มาทรัพย์สมบัติก็จะไม่มีเหลือและยังจะทำให้มีการก่อหนี้ยืมสินให้เป็นภาระผูกพันตนอีก แม้จะมีทรัพย์สมบัติมากเพียงใดหากไม่รู้จักประมาณในการจับจ่ายใช้สอยแล้วทรัพย์ก็หมดไป คนที่ร่ำรวยก็จะกลับกลายเป็นคนจน คนที่จนอยู่แล้วก็จะกลายเป็นคนสิ้นเนื้อประดาตัวในที่สุด

4. ตั้งสตรีหรือบุรุษผู้ทุศีลให้เป็นแม่บ้านพ่อเรือน คือการแต่งงานกับสตรีหรือบุรุษไม่ดี ซึ่งมักทำลายกฎเกณฑ์ ประพฤติผิดศีลธรรม จริยธรรมเสมอ หรือการไว้วางใจให้สตรีหรือบุรุษเช่นนั้นครอบครองทรัพย์สมบัติ คนเช่นนั้นก็จะมีแต่ผลาญทรัพย์สมบัติให้หมด

  กุศลกรรมบถ หมายถึง ทางแห่งกุศลกรรม,ทางทำความดี หรือกรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติ เป็นสิ่งที่ควรกระทำ ประกอบด้วย
ก. กายสุจริต คือ มีความสุจริตทางกาย ทำสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยกาย 3 ประการ

1) ปาณาติปาตา เวรมณี หมายถึง ละเว้นการฆ่า การสังหาร การบีบคั้นเบียดเบียน มีเมตตากรุณา ช่วยเหลือเกื้อกูลสงเคราะห์
2) อทินนาทานา เวรมณ หมายถึง ละเว้นการแย่งชิงลักขโมย และการเอารัดเอาเปรียบ เคารพสิทธิในทรัพย์สินของกันและกัน
3) กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณหมายถึง ละเว้นการประพฤติผิดล่วงละเมิดในของรักของหวงแหนของผู้อื่น ไม่ข่มเหงจิตใจ หรือทำลายลบหลู่เกียรติและวงศ์ตระกูล

ข. วจีสุจริต คือ มีความสุจริตทางวาจา พูดในสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยวาจา มี 4 ประการ คือ
4) มุสาวาทา เวรมณี หมายถึง ละเว้นการพูดเท็จ โกหกหลอกลวง ,กล่าวแต่คำสัตย์ ไม่จงใจพูดให้ผิดจากความเป็นจริง เพราะเห็นแก่ผลประโยชน์ใด ๆ
5) ปิสุณาย วาจาย เวรมณหมายถึง ละเว้นการพูดด้วยคำพูดส่อเสียด ยุยง สร้างความแตกแยก พูดแต่คำที่สมานและส่งเสริมสามัคคี
6) ผรุสาย วาจาย เวรมณ หมายถึง ละเว้นการพูดคำหยาบ สกปรกเสียหาย :พูดแต่คำสุภาพ นุ่มนวล ชวนฟัง
7) สัมผัปปลาปา เวรมณี หมายถึง ละเว้นการพูดจาเหลวไหลเพ้อเจ้อ : พูดแต่คำจริง มีเหตุมีผล มีสาระประโยชน์ ถูกกาลเทศะ

ค. มโนสุจริต คือ มีความสุจริตทางใจ คิดสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยจื มี 3 ประการคือ
8) อนภิชฌา หมายถึง ไม่ละโมบ ไม่เพ่งเล็งคิดหาทางเอาแต่จะได้ :คิดให้ คิดเสียสละ ทำใจให้เผื่อแผ่กว้างขวาง
9) อพยาบาท หมายถึง ไม่คิดร้ายมุ่งเบียดเบียนหรือจ้องที่จะทำลาย ตั้งความปรารถนาดี แผ่ไมตรี มุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่กัน
10) สัมมาทิฏฐิ หมายถึง มีความเห็นถูกต้อง เป็นสัมมาทิฏฐิ เข้าใจในหลักกรรมว่า ทำดีมีผลดี ทำชั่วมีผลชั่ว : รู้เท่าทันความจริง4. ธัมมานุปัสสนา สติปัฎฐาน หมายถึง การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรมให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา คือ มีสติรู้ชัดในหลักธรรมทั้งหลาย ได้แก่ นิวรณ์ 5 (ความใคร่ในกาม ความพยาบาท ความหดหู่ใจ ความฟุ้งซ่านกังวลและความสงสัยไม่แน่ใจ) ขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ) อายตะ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ) โพชฌงค์ 7(สติ การสืบค้นธรรม ความเพียร ความอิ่มใจ ความสงบกายสงบใจ ความตั้งใจมั่น ความวางเฉย) และอริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ธรรมแต่ละอย่างมีอยู่ในใจตนหรือไม่ ที่ยังไม่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้วจะละได้อย่างไร ที่ละได้แล้ว จะไม่ทำให้เกิดขึ้นอีกต่อไปได้อย่างไร รู้ชัดตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้น ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น