วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

พระรัตนตรัย

 พระรัตนตรัย : ความหมายและคุณค่าของธรรมคุณ 6ความหมายและคุณค่าของธรรมคุณ 6

         ธรรมคุณ หมายถึง คุณของพระธรรม ประกอบด้วย

1. สฺวาขาโต ภควตา ธมฺโม แปลว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว คือตรัสไว้เป็นความจริงแท้ อีกทั้งงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งธรรม(เนื้อความใจความ) พร้อมทั้งพยัญชนะ(อักษร) ประกาศหลักการครองชีวิตอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง

2. สฺนทิฏฐิโก แปลว่า อันผู้ปฏิบัติธรรมจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง คือผู้ใดปฏิบัติธรรม ผู้ใดบรรลุธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นประจักษ์ด้วยตนเองไม่ต้องเชื่อตามคำบอกของผู้อื่น ผู้ใดไม่ปฏิบัติธรรม ไม่บรรลุธรรม ถึงผู้อื่นจะบอกก็เห็นชัดไม่ได้

3. อกาลิโก แปลว่า ไม่ประกอบด้วยภาค คือ การปฏิบัติธรรมไม่ขึ้นกับกาลเวลา พร้อมเมื่อใด บรรลุได้ทันที บรรลุเมื่อใด เห็นผมได้ทันทีอีกอย่างว่าความเจริญเป็นอยู่อย่างไร ก็เป็นอยู่อย่างนั้น ไม่จำกัดด้วยกาลเวลา

4. เอหิปสฺสิโก แปลว่า ควรเรียกให้มาดู คือเชิญชวนให้มาชมและพิสูจน์ได้ หรือท้าทายต่อการตรวจเป็นของจริงและดีจริง

5. โอปนยิโก แปลว่า ควรน้อมเข้ามา คือ ควรน้อมนำหลักธรรมเข้ามาไว้ในใจ หรือน้อมใจเข้าไปให้ถึงหลักธรรมด้วยการปฏิบัติให้เกิดมีขึ้นในใจหรือให้ใจบรรลุถึงอย่างนั้น หมายความว่าเชิญชวนให้ทดลองปฏิบัติดูอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นสิ่งที่นำผู้ปฏิบัติให้เข้าไปถึงที่หมายคือนิพพาน

6. ปจฺจตฺตํ เวทพตพฺโพ วิญฺญูหแปลว่า อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน คือเป็นวิสัยของวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตนเองเท่านั้น หรือรู้ได้จำเพาะตน ต้องทำต้องปฏิบัติจึงรับรู้หรือเสวยได้ เฉพาะตัว ทำให้กันไม่ได้ เอาจากกันไม่ได้ และรู้ได้ประจักษ์ที่ในใจของตนนี่เองคุณข้อที่ 1 มีความหมายกว้างรวมทั้งปริยัติธรรม คือคำสั่งสอน ส่วนข้อที่ 2-6 มุ่งให้บุคคลบรรลุถึงโลกุตตรธรรม
อายตนะ
        แม้ว่าชีวิตจะประกอบด้วยขันธ์ 5 ซึ่งแบ่งซอยออกไปเป็นหน่วยย่อยต่าง ๆ มากมาย แต่ในทางปฏิบัติ คือในการดำเนินชีวิต ทั่วไปมนุษย์ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับส่วนประกอบเหล่านั้นโดยทั่วถึงแต่อย่างใด ส่วนประกอบหลายอย่างมีอยู่และทำหน้าที่ของมันเป็นโดยมนุษย์ไม่รู้จักหรือแม้รู้จักก็แทบไม่ได้นึกถึงเลย เช่น ในด้านรูปธรรม อวัยวะภายในร่างกายหลายอย่างทำหน้าที่ของมันอยู่โดยมนุษย์ผู้เป็นเจ้าของไม่รู้และไม่ได้ใส่ใจที่จะรู้ จนบางคราวมันเกิดความวิปริตหรือทำหน้าที่บกพร่องขึ้น มนุษย์จึงจะหันมาสนใจ แม้องค์ประกอบต่างในการะบวนการผ่ายจิตก็เป็นเช่นเดียวกัน การศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ และกระบวนการทำงานด้านจิตใจเราปล่อยให้เป็นภาระของนักศึกษาทางแพทยศาสตร์และชีววิทยา ส่วนการศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบและกระบวนการทำงานด้านจิตใจ เราปล่อยให้เป็นภาระของนักอภิธรรมและนักจิตวิทยา แต่สำหรับคนทั่วไป ความหมายของชีวิตอยู่ที่ชีวิตในทางปฏิบัติ หรือชีวิตที่ดำเนินอยู่เป็นประจำในแต่ละวัน ซึ่งได้แก่การติดต่อเกี่ยวข้องกับโลก สิ่งที่ให้ความหมายแก่ชีวิต คือการติดต่อเกี่ยวข้องกับโลกหรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า ชีวิตตามความหมายของมนุษย์คือชีวิตโดยความสัมพันธ์กับโลก ชีวิตในทางปฏิบัติหรือชีวิตโดยความสัมพันธ์กับโลกได้ ซึ่งเรียกว่า”ทวาร”(ประตู, ช่องทาง)หรืออายตนะ

       อายตนะ แปลว่า ที่ต่อ หรือแดน หมายถึงที่ต่อกันให้เกิดความรู้ แดนเชื่อมต่อให้เกิดความรู้หรือแหล่งที่มาของความรู้ แปลอย่างง่าย ๆ ว่า ทางรับรู้ แบ่งออกเป็น

1.อายตนะภายใน หมายถึง ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้ แดนต่อความรู้ฝ่ายภายใน ได้แก่ ตา(จักขุ) หู(โสตะ) จมูก (ฆานะ) ลิ้น (ชิวหา) กาย (กาย) ใจ (มโน) ทั้ง 6 นี้เรียกอีกอย่างว่า อินทรีย์ 6 เพราะเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนแต่ละอย่าง เช่น จักขุ เป็นเจ้าในการเห็น เป็นต้น

2. อายตนะภายนอก หมายถึง ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้ แดนต่อความรู้ฝ่ายภายนอก ได้แก่ รูป (รูปะ) คือสิ่งที่เห็น เสียง (สัททะ)
กลิ่น (คันสะ) รส (รสะ) สัมผัสทางกาย (โผฏฐัพพะ) อารมณ์ที่เกิดกับใจ สิ่งที่ใจนึกคิด(ธรรมารมณ์) ทั้ง 6 นี้ เรียกทั่วไปว่า อารมณ์ 6 คือ เป็นสิ่งสำหรับให้ใจยึดหน่วงเมื่ออายตนะภายใน ซึ่งเป็นแดนรับรู้ กระทบกับอารมณ์(อายตนะภายนอก)ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ก็จะเกิดความรู้จำเพาะด้านของอายตนะแต่ละอย่าง ๆ ขึ้น เช่น ตากระทบรูป เกิดความรู้เรียกว่า เห็น หูกระทบเสียง เกิดความรู้ เรียกว่า ได้ยิน เป็นต้น ความรู้จำเพาะแต่ละด้านนี้เรียกว่า “วิญญาณ” แปลว่า ความรู้แจ้ง คือรู้อารมณ์ ดังนั้น จึงมีวิญญาณ 6 อย่าง เท่ากับอายตนะและอารมณ์ 6 คู่ คือ วิญญาณทางตา ได้แก่เห็นวิญญาณทางหู ได้แก่ ได้ยิน วิญญาณทางจมูก ได้แก่ ได้กลิ่น วิญญาณทางลิ้น ได้แก่ รู้รส วิญญาณทางกาย ได้แก่ รู้สิ่งที่ต้องกาย วิญญาณทางใจ ได้แก่ รู้อารมณ์ทางใจ หรือรู้เรื่องในใจ

ความสัมพันธ์ระหว่าง อายตนะ 6 อารมณ์ 6 และวิญญาณ 6
ดังนี้
อายตะ 6 อารมณ์ 6 วิญญาณ 6

1. จักขุ – ตา
เป็นแดนรับรู้ รูปะ - รูป เกิดความรู้ คือ จักขุวิญญาณ – เห็น
2. โสตะ – หู เป็นแดนรับรู้-สัททะ - เสียง เกิดความรู้ คือ โสตวิญญาณ – ได้ยิน
3. ฆานะ -จมูก เป็นแดนรับรู้ คันธะ - กลิ่น เกิดความรู้ คือ ฆานวิญญาณ – ได้กลิ่น
4. ชิวหา - ลิ้น เป็นแดนรับรู้ รส - รส เกิดความรู้ คือ ชิวหาวิญญาณ - รู้รส
5. กาย - กาย เป็นแดนรับรู้ โผฏฐัพพะ - สิ่งต้องกาย เกิดความรู้ คือ กายวิญญาณ – รู้สิ่งต้องกาย
6. มโน - ใจ เป็นแดนรับรู้ ธรรมารมณ์ - เรื่องในใจ เกิดความรู้ คือมโนวิญญาณ – รู้เรื่องในใจ
สมบัติ 4

        สมบัติ หมายถึง ข้อดี ความเพียบพร้อม ความสมบูรณ์แห่งองค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งอำนวยแก่การให้ผลของกรรมดี และไม่เปิดช่องให้กรรมชั่วแสดงผล หรือส่วนประกอบอำนวยช่วยเสริมกรรมดี ประกอบด้วย

1. คติสมบัตหมายถึง สมบัติแห่งคติ หรือถึงพร้อมด้วยคติ ในช่วงยาว หมายถึง เกิดในกำเนิดอันอำนวย หรือที่เกิดอันเจริญในช่วงสั้น หมายถึง ที่อยู่ ที่ไป ทางดำเนินดีหรือทำสิ่งที่ถูกต้อง คือในกรณีนั้น ๆ สภาพแวดล้อมนั้น ๆ ถิ่นที่อยู่นั้น ๆ ตลอดถึงแนวทางดำเนินชีวิตขณะนั้น เอื้ออำนายแก่การกระทำความดี หรือการเจริญงอกงามของความดี ทำให้ความดีปรากฏโดยง่าย

2. อุปธิสมบัต หมายถึง สมบัติแห่งร่างกาย ถึงพร้อมด้วยรูปกาย มีรูปกายที่ดีพร้อม ในช่วงยาว หมายถึง มีการสง่า สวยงามบุคลิกภาพดี ในช่วงสั้น หมายถึง มีร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพดี

3. กายสมบัตหมายถึง สมบัติแห่งกาล ถึงพร้อมด้วยกาล ในช่วงยาวหมายถึง เกิดอยู่ในสมัยที่โลกมีความเจริญ หรือบ้านเมืองสงบสุข มีการปกครองที่ดี คนในสังคมอยู่ในศีลธรรม สามัคคีกัน ยกย่องคนดี ไม่ส่งเสริมคนชั่ว ในช่วงสั้น หมายถึง ทำถูกกาลเวลา

4. ปโยคสมบัต หมายถึง สมบัติแห่งการประกอบ ถึงพร้อมด้วยการประกอบความเพียร ในช่วงยาวหมายถึง ฝักใฝ่ในทางที่ถูก นำความเพียรไปใช้ขวานขวายประกอบการที่ถูกต้องดีงาม มีปกติประกอบกิจการงานที่ถูกต้อง ทำแต่ความดีงามอยู่แล้ว ในช่วงสั้น หมายถึง เมื่อทำกรรมดี ก็ทำให้ถึงขนาด ทำจริงจัง ให้ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ ใช้วิธีการที่เหมาะกับเรื่อง หรือทำความดีต่อเนื่องมาเป็นพื้นแล้ว กรรมดีที่ทำเสริมเข้าไปอีก จึงเห็นผลได้ง่าย

วิบัติ 4

        วิบัติ หมายถึง ข้อเสีย,จุดอ่อน,ความบกพร่องแห่งองค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งไม่อำนวยแก่การให้ผลดีของกรรมดี แต่เปิดช่องให้กรรมชั่วแสดงผล หรือส่วนประกอบบกพร่อง เปิดช่องให้กรรมชั่ว ประกอบด้วย

1. คติวิบัตหมายถึง วิบัติแห่งคติ,คติเสีย ในช่วงยาวหมายถึง เกิดในกำเนินต่ำทราม หรือเกิดในที่ไร้ความเจริญ ในช่วงสั้น หมายถึง ที่อยู่ ที่ไป ทางดำเนินชีวิตไม่ดี หรือทำไม่ถูกเรื่อง ไม่ถูกที่ คือ ในกรณีนั้น ๆ สภาพแวดล้อมนั้น ๆ ถิ่นนั้น ๆ ตลอดถึงแนวทางดำเนินชีวิตขณะนั้นไม่เอื้ออำนวยแก่การกระทำความดีหรือการเจริญงอกงามของความดี แต่กลับเปิดทางให้แก่ความชั่วและผลร้าย

2. อุปธิวิบัต หมายถึง วิบัติแห่งร่างกาย ,รูปกายเสีย ในช่วงยาว หมายถึง ร่างกายพิการ ไม่งดงาม บุคลิกภาพไม่ดี ในช่วงสั้น หมายถึง สุขภาพไม่ดี เจ็บป่วย มีโรคเบียดเบียน

3. กาลวิบัติ หมายถึง วิบัติแห่งกาล กาลเสีย ในช่วงยาวหมายถึง เกิดในสมัยที่โลกไม่มีความเจริญ หรือบ้านเมืองมีแต่ภัยพิบัติ ผู้ปกครองไม่ดี สังคมเสื่อมจากศีลธรรม มีการกดขี่เบียดเบียนกันมาก ยกย่องคนชั่วเป็นใหญ่ บีบคั้นคนดี เป็นต้น ในช่วงสั้นหมายถึง ทำผิดกาลเวลา

4. ปโยควิบัติ หมายถึง วิบัติแห่งการประกอบกิจการเสีย ในช่วงยาวหมายถึง ฝักใฝ่ในทางที่ผิด ประกอบกิจการงานที่ผิด หรือมีปกติชอบกระทำแต่ความชั่ว ในช่วงสั้น หมายถึง เมื่อกระทำกรรมดี ก็ไม่ทำให้ถึงขนาด ไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ ทำจับจดใช้วิธีการไม่เหมาะกับเรื่อง หรือเมื่อประกอบคาวมดีต่อเนื่องมา แต่กลับทำความชั่วหักล้างความดี เป็นต้น

         วิบัติ 4 นี้ เป็นสิ่งที่จะต้องนำมาประกอบการพิจารณาในเรื่องการให้ผลของกรรม เพราะการปรากฏของวิบากกรรม นอกจากอาศัยเหตุหรือกรรมแล้ว ยังต้องอาศัยฐานคือ คติ อุปธิ กาละ และปโยคะ เป็นปัจจัยประกอบด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น